อาหาร เทศกาล กินเจ - วัฒนธรรม กินเจ - ประวัติความเป็นมาของ การกิน อาหารเจ

ประวัติความเป็นมาของ การกิน อาหารเจ

     การกินเจ หรือ บางคนก็เรียกว่า การรับประทาน อาหารมังสวิรัติ จำพวก ผัก ผลไม้ งดการรับประทาน อาหารจำพวก เนื้อสัตว์ ตลอดจนการไม่ใช้เครื่องเทศ เช่น หัวหอม กระเทียม กุ้ยฉ่าย หลักเกียว (กระเทียมโทนจีน)  และใบยาสูบ ในการประกอบอาหาร ทั้งนี้ทั้งนั้น เพื่อให้ได้รับผลบุญกุศล และการเข้าถึงหลักธรรมที่แท้จริง ผู้ที่กินเจ จะต้อง เจริญภาวนา ตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรม ไม่เบียนเบียนสัตว์

     ประวัติความเป็นมาของ การรับประทาน อาหารเจเพื่อสุขภาพ เริ่มต้นมาจาก ความเชื่อของชาวจีน ที่มีความเชื่อว่า การถือศีล ทำบุญทำทาน โดยการไม่เบียนเบียน ทำร้ายสัตว์ ซึ่งถือเป็นสิ่งมีชีวิต เหมือนกับ มนุษย์ รวมทั้งการไม่รับประทานอาหาร ที่มีการปรุงมาจาก เนื้อสัตว์ ต่างๆ นั้น ถือว่าเป็นการชำระทั้งร่างกาย และจิตใจให้บริสุทธิ์

     ทัศนะของคนที่กินเจ มีความเชื่อกันว่า “การกินเป็นการทำให้ชีวิต ของผู้อื่น ต้องเดือดร้อน ล้มตายเป็นจำนวนมาก” ด้วยเหตุนี้ การกินเจ จึงต้องตั้งอยู่ใน หลักธรรม 2 ประการได้แก่

  • การดำรงชีวิตความเป็นอยู่ด้วยการ รับประทานอาหารที่ไม่เบียดเบียนผู้อื่น คือการไม่เอาชีวิตสัตว์ทั้งหลายมาบำรุงเลี้ยงชีวิตตนเอง
  • การดำรงชีวิตความเป็นอยู่ด้วยการ รับประทานอาหารที่ไม่เบียดเบียนตนเอง คือกินแต่อาหารพืชผัก ก็เพียงพอแล้วสำหรับการมีชีวิตอยู่ได้

     จากความเชื่อ ของชาวจีน ทำให้ผู้คนสนใจ ในการรับประทาน อาหารเจเพื่อสุขภาพ กันมากขึ้น จนเกิดเป็นเทศการกินเจ ที่เริ่มต้นเทศการกินเจ ตั้งแต่วันขึ้น 1 ค่ำ ถึงวันขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 ของทุกๆปี  ตามปฏิทินจีน ซึ่งเป็นประเพณีแบบลัทธิเต๋า จะเป็นเทศการกินเจ หรือการไม่รับประทานอาหาร ที่มีการปรุงด้วยเนื้อสัตว์ และต้องเป็นอาหารที่ปรุงมาจากพืชผักผลไม้ล้วนๆ ที่สำคัญ ต้องไม่มี ส่วนผสมของเครื่องเทศ 5 อย่าง ซึ่งได้แก่ หัวหอม กระเทียม กุ้ยฉ่าย หลักเกียว (กระเทียมโทนจีน)  และใบยาสูบ ภายในช่วงเวลา 9-10 วัน โดยในระหว่างนี้ ผู้ปฏิบัติหรือผู้ที่ รับประทาน อาหารเจเพื่อสุขภาพ นิยมทำบุญทำทาน ถือศีล ไปด้วย เพื่อเป็นการทำจิตใจให้บริสุทธิ์ และไม่เบียดเบียนสัตว์ อีกด้วย

อาหาร เทศกาล กินเจ - วัฒนธรรม กินเจ - ประวัติความเป็นมาของ การกิน อาหารเจ

ความหมายของการกินเจ

คำว่า “กินเจ” คือ ไม่คาว หรือถ้าแปลตามตัว จะหมายถึง การรับประทานอาหาร ก่อนเที่ยงวัน ซึ่งในความหมาย ของชาวพุทธ ก็คือการรักษาศีล นั่นเอง อาหารเจ จึงเกิดขึ้นเนื่องมาจาก การถืออุโบสถศีล ของพุทธศาสนิกชน ฝ่ายมหายาน ที่ไม่กินเนื้อสัตว์ ด้วยเหตุนี้ การกินอาหารเจ จึงไม่นิยมรับประทาน เนื้อสัตว์

อ่านต่อ...